การสละสัญชาติไทย / Renunciation of Thai Citizenship

การสละสัญชาติไทย / Renunciation of Thai Citizenship

วันที่นำเข้าข้อมูล 16 ต.ค. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 16 ต.ค. 2565

| 1,464 view

การยื่นคำร้องขอสละสัญชาติไทย

1. ข้อมูลทั่วไป

  • การส่งคืนหนังสือเดินทางไทยไปยังสถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่ถือว่าเป็นการแสดงความจำนงในการยื่นคำร้องสละสัญชาติ
  • ผู้ขอสละสัญชาติไทยต้องไปยื่นคำร้องการขอสละสัญชาติไทยด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ และต้องทำการนัดหมายล่วงหน้า (โทรศัพท์สอบถาม +972 9 954 8412-3 ในวันและเวลาทำการ)
  • การเสียสัญชาติไทยจะมีผลโดยสมบูรณ์ต่อเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 (ใช้เวลา 2-3 ปี นับจากวันยื่นคำร้องฯ)
  • การเสียสัญชาติไทยหมายถึงการเสียสิทธิอันพึงมีในฐานะคนไทย ทั้งการถือครองที่ดินและทรัพย์สินต่าง ๆ การต้องเดินทางเข้าประเทศไทยในฐานะคนต่างด้าว ฯลฯ
  • ในการกรอกคำร้องขอสละสัญชาติ ผู้ร้องต้องทราบข้อมูลของพยานที่รู้เห็นการเกิดของผู้ร้อง อย่างน้อย 4 คน โดยจะต้องระบุชื่อ ชื่อสกุล ที่อยู่ อาชีพ และ วัน/เดือน/ปีเกิด
  • ในการกรอกคำร้องขอสละสัญชาติ ผู้ร้องต้องทราบข้อมูลของพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน โดยจะต้องระบุชื่อ ชื่อสกุล ที่อยู่ อาชีพ และ วัน/เดือน/ปีเกิด
  • หญิงสัญชาติไทยที่สมรสกับคนต่างด้าว และต่อมาคู่สมรสเสียชีวิต ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากการสละสัญชาติตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 นั้น ต้องใช้เอกสาร (แบบ สช.1) สามีจะต้องมาเป็นผู้ลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ไม่สามารถใช้ใบมรณบัตรสามีแทนได้
  • เด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (20 ปีบริบูรณ์) ไม่สามารถยื่นคำร้องสละสัญชาติไทยได้
  • การยื่นคำร้องขอสละสัญชาติเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ผู้ร้องต้องให้เวลาในการเขียนคำร้องและเตรียมเอกสาร กรณีเอกสารไม่สมบูรณ์ หากส่งเรื่องไปยังหน่วยงานในประเทศไทยแล้วเจ้าหน้าที่ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ให้ได้ ยิ่งทำให้การดำเนินการล่าช้ายิ่งขึ้น

2. การยื่นคำร้องขอสละสัญชาติไทยแบบที่ 1 (ชายหรือหญิงซึ่งได้แปลงสัญชาติตามคู่สมรส)

  • มาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 ระบุว่า “หญิงซึ่งมีสัญชาติไทยและได้สมรสกับชาวต่างด้าวและอาจถือสัญชาติของสามีได้ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของสามี ถ้าประสงค์จะสละสัญชาติไทยให้แสดงความจำนงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง”
  • หญิงไทยที่แต่งงานกับคนอิสราเอล และได้สัญชาติตามสามี จึงอยู่ในข่ายที่จะยื่นคำร้องขอสละสัญชาติตามกฎหมายฯ มาตรา 13 นี้ 
  • ผู้ร้องต้องกรอกคำร้องในแบบฟอร์ม สช.1
  • หลักฐานการยื่นคำร้องขอสละสัญชาติไทย
    1. รูปถ่ายผู้ร้องขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 12 รูป (แต่งกายสุภาพ)
    2. รูปถ่ายคู่สมรสผู้ร้อง ขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 6 รูป (แต่งกายสุภาพ)
    3. ใบสำคัญการสมรส พร้อมสำเนา 2 ชุด
    4. หลักฐานเกี่ยวกับการถือสัญชาติอิสราเอล ดังนี้
      • ใบยืนยันว่าทางการอิสราเอลยอมรับให้เข้าถือสัญชาติได้ พร้อมสำเนา 2 ชุด เมื่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับเอกสารดังกล่าวแล้ว สามารถออกหนังสือรับรองว่าผู้ร้องได้มายื่นเรื่องขอสละสัญชาติกับทางสถานเอกอัครราชทูตฯ แล้ว เพื่อให้ผู้ร้องใช้ประกอบการขอสัญชาติอิสราเอลต่อไป
      • ใบยืนยันสัญชาติอิสราเอล พร้อมสำเนา 2 ชุด เ
      • ในกรณีที่ผู้ร้องได้รับใบยืนยันสัญชาติอิสราเอลมาก่อนแล้ว (โดยไม่ต้องมีหนังสือรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต) ให้ใช้ใบยืนยันดังกล่าวเป็นหลักโดยไม่ต้องใช้ใบยืนยันว่าทางการอิสราเอลยอมรับให้เข้าถือสัญชาติได้
    5. หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา 2 ชุด
    6. หนังสือเดินทางออสเตรียของสามี พร้อมสำเนา 2 ชุด
    7. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา 2 ชุด
    8. ทะเบียนบ้านไทย พร้อมสำเนา 2 ชุด
    9. หนังสือสำคัญเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี) พร้อมสำเนา 2 ชุด
    10. พยานบุคคล (คนไทย) 1 คน หนังสือเดินทาง บัตรประจำประชาชน ทะเบียนบ้านของพยาน พร้อมสำเนา 2 ชุด เพื่อสอบปากคำรับรองยืนยันว่าผู้ร้องเป็นคนมีสัญชาติไทยจริง
    11. สูติบัตร หรือทะเบียนคนเกิด พร้อมสำเนา 2 ชุด
    12. เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้แล้วแต่กรณี

[หมายเหตุ

  • เอกสารที่ออกให้โดยทางการอิสราเอล ที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาท้องถิ่นของประเทศนั้น ๆ อาทิ สำเนาใบสำคัญการสมรส สำเนาหลักฐานการเข้าถือสัญชาติอิสราเอล ฯลฯ ต้องแปลเป็นภาษาไทยให้ถูกต้อง และผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศอิสราเอลก่อน 
  • รายการในเอกสารอันเป็นสาระสำคัญ ระบุข้อมูลเกี่ยวกับสถานะบุคคลต้องถูกต้องตรงกัน ถ้าไม่ถูกต้องตรงกัน ถือไม่ได้ว่าบุคคลตามเอกสารเป็นบุคคลคนเดียวกัน ผู้ร้องต้องไปยื่นคำร้องต่อพนังานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารนั้น เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง หรือรับรองว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน

3. การยื่นคำร้องขอสละสัญชาติไทยแบบที่ 2 (ผู้ทีได้สัญชาติไทยเพราะเกิดในประเทศไทย หรือ เพราะการแปลงสัญชาติตามมาตรา 14 และ 15)

  • มาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 ระบุว่า “ผู้ที่มีสัญชาติไทยซึ่งเกิดในขณะที่บิดาเป็นคนต่างด้าวและได้สัญชาติของบิดาว่าด้วยกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของบิดา หรือผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยตามมาตรา 12 วรรค 2 ถ้ายังประสงค์จะถือสัญชาติอื่นอยู่ต่อไป ให้แสดงความจำนงสละสัญชาติไทยตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์"
  • มาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 ระบุว่า “ ผู้ที่มีสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นหรือผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ถ้าประสงค์จะสละสัญชาติไทย ให้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง”
  • ผู้ที่เข้าข่ายที่จะยื่นคำร้องสละสัญชาติไทยตามมาตรา 14 และ 15 ข้างต้น ได้แก่
    1. ผู้ที่มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในประเทศไทยขณะที่บิดาเป็นคนต่างด้าว และอาจถือสัญชาติของบิดาได้ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของบิดา (ผู้ร้องที่ติดตามบิดามาอยู่ในอิสราเอล เข้ากฎเกณฑ์ข้อนี้ และผู้ร้องต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบรูณ์จึงจะยื่นคำร้องขอสละสัญชาติได้)
    2. ผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยบิดาหรือมารดาขอแปลงสัญชาติเป็นไทยให้ในขณะที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
    3. ผู้ที่มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในประเทศไทยขณะที่บิดาเป็นคนต่างด้าว และอาจถือสัญชาติของบิดาได้ แต่ไม่ได้แสดงความจำนงขอสละสัญชาติไทยภายใน 1 ปีนับแต่วันที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
    4. ผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยบิดาหรือมารดาขอแปลงสัญชาติเป็นไทยให้ในขณะที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ แต่ไม่ได้แสดงความจำนงขอสละสัญชาติไทยภายใน 1 ปีนับแต่วันที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
    5. ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยและสัญชาติอื่น
    6. ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ
  • ผู้ร้องต้องกรอกคำร้องในแบบฟอร์ม สช.2
  • หลักฐานการยื่นคำร้องขอสละสัญชาติไทย
    1. รูปถ่ายผู้ร้องขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 12 รูป (แต่งกายสุภาพ)
    2. รูปถ่ายบิดา มารดา ผู้ร้อง ขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 6 รูป (แต่งกายสุภาพ) พร้อมเอกสารทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทางของบิดา มารดาพร้อมสำเนา 2 ชุด
    3. หลักฐานเกี่ยวกับการถือสัญชาติอิสราเอล ดังนี้
      • ใบยืนยันว่าทางการอิสราเอลยอมรับให้เข้าถือสัญชาติได้ พร้อมสำเนา 2 ชุด เมื่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับเอกสารดังกล่าวแล้ว สามารถออกหนังสือรับรองว่าผู้ร้องได้มายื่นเรื่องขอสละสัญชาติกับทางสถานเอกอัครราชทูตฯ แล้ว เพื่อให้ผู้ร้องใช้ประกอบการขอสัญชาติอิสราเอลต่อไป
      • ใบยืนยันสัญชาติอิสราเอล พร้อมสำเนา 2 ชุด เ
      • ในกรณีที่ผู้ร้องได้รับใบยืนยันสัญชาติอิสราเอลมาก่อนแล้ว (โดยไม่ต้องมีหนังสือรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต) ให้ใช้ใบยืนยันดังกล่าวเป็นหลักโดยไม่ต้องใช้ใบยืนยันว่าทางการอิสราเอลยอมรับให้เข้าถือสัญชาติได้
    4. หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา 2 ชุด
    5. สูติบัตร พร้อมสำเนา 2 ชุด
    6. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา 2 ชุด
    7. ทะเบียนบ้านไทย พร้อมสำเนา 2 ชุด
    8. หลักฐานที่แสดงว่าอาจถือสัญชาติของบิดาได้ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของบิดาหรือหลักฐานการได้สัญชาติไทย หรือหลักฐานการได้สัญชาติอื่นแล้ว แล้วแต่กรณี
    9. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา หรือ หลักฐานสัญชาติของบิดา หรือหลักฐานการแปลงสัญชาติเป็นไทยของบิดา
    10. หนังสือสำคัญเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี) พร้อมสำเนา 2 ชุด 
    11. สำเนาใบสำคัญทหาร (แบบ สด.9 / แบบสด. 1 หรือ สด. 8)
    12. พยานบุคคล (คนไทย) 1 คน หนังสือเดินทาง บัตรประจำประชาชน ทะเบียนบ้านของพยาน พร้อมสำเนา 2 ชุด
    13. เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้แล้วแต่กรณี

[หมายเหตุ

  • เอกสารที่ออกให้โดยทางการอิสราเอล ที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาท้องถิ่นของประเทศนั้น ๆ อาทิ สำเนาใบสำคัญการสมรส สำเนาหลักฐานการเข้าถือสัญชาติอิสราเอล ฯลฯ ต้องแปลเป็นภาษาไทยให้ถูกต้อง และผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศอิสราเอลก่อน 
  • รายการในเอกสารอันเป็นสาระสำคัญ ระบุข้อมูลเกี่ยวกับสถานะบุคคลต้องถูกต้องตรงกัน ถ้าไม่ถูกต้องตรงกัน ถือไม่ได้ว่าบุคคลตามเอกสารเป็นบุคคลคนเดียวกัน ผู้ร้องต้องไปยื่นคำร้องต่อพนังานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารนั้น เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง หรือรับรองว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน]

4. การดำเนินการของหน่วยราชการไทย

  • เมื่อกระทรวงการต่างประเทศได้รับคำร้องจากสถานเอกอัครราชทูต / สถานกงสุลใหญ่ไทยแล้ว จะแจ้งกระทรวงมหาดไทยเพื่อดำเนินการต่อไป
  • กระทรวงมหาดไทยจะแจ้งกรมการปกครองและสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและเอกสารต่าง ๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด ซึ่งในแต่ละรายจะใช้เวลาดำเนินการต่างกันเป็นกรณี ๆ ไป ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของเอกสารของผู้ร้องแต่ละราย อีกทั้งการตรวจสอบต้องให้หน่วยงานที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาถิ่นที่อยู่เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งแต่ละสำนักทะเบียนจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
  • เมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ผลการตรวจสอบจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว จึงเสนอเรื่องให้คณะกรรมการกลั่นกรองสัญชาติพิจารณา ซึ่งการดำเนินการจะใช้เวลานานกว่าจะมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้บุคคลดังกล่าวเสียสัญชาติไทย
  • กรณีผู้ร้องต้องการดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว สามารถไปยื่นคำร้องขอสละสัญชาติไทยได้โดยตรง
    • หากมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำร้องต่อ ฝ่ายกฎหมายและวินัย กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330 โทร. 00-662-2526961 และ 00-662-2052970
    • หากมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำร้องต่อผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดนั้นๆ